ติดต่อคุณชิน 084-3589848 Email : russameeprom@gmail.com
รหัสวัตถุมงคล : |
429 |
ชื่อวัตถุมงคล : |
พระปิดตามหาอุตม์ - อุดมลาภ อาจารย์ธรรมนูญ บุญธรรม บรรจุแร่ ปี 2550 |
กลุ่มวัตถุมงคล : |
พระเครื่องภาคตะวันออก
|
รายละเอียดวัตถุมงคล : |
พระปิดตามหาอุตม์ - อุดมลาภ อาจารย์ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักสักยันต์บัวแปดกลีบ ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี
พระปิดตาองค์น้อยนี้ถือกำเนิดขึ้นจากการที่อาจารย์ธรรมนูญมีผงพุทธคุณและผงวิเศษต่าง ๆ เก็บไว้เป็นจำนวนมาก กอรปกับมีศิษยานุศิษย์นำมามอบให้อีกพอสมควร อาจารย์จึงมีดำริสร้างเป็นพระปิดตาขึ้นเพื่อมิให้ผงนั้นกระจัดกระจายเสียหายไป พระปิดตามหาอุตม์-อุดมลาภ จึงถูกรังสรรค์ขึ้นอย่างตั้งใจในปี พ.ศ. 2550 โดย คุณวิโรจน์ ผู้เป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดเขารัง จ.ภูเก็ต และ ครูบาหล้า จันโทภาโส วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ รับไปดำเนินการให้ โดยจำนวนการสร้างนั้นน้อยมากคือมีเพียง 500 องค์เศษ และเกือบจะพูดได้ว่าในเนื้อหานั้นมีแต่มวลสารล้วน ๆ ตัวประสานคงใส่ไว้เพียงนิดหน่อยเพื่อโยงยึดเนื้อพระไว้เท่านั้น อาจารย์ได้นำพระปิดตารุ่นแรกนี้ไปถวายให้พระอาจารย์นิยม สำนักสงฆ์บุญสัมฤทธิ์ จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นพระภิกษุที่ชำนาญในพระเวทย์วิทยาคมไม่น้อย ทั้งยังได้เรียนวิชาไปจากอาจารย์ธรรมนูญอีกด้วย จึงถือได้ว่า คอเดียวกัน เมื่อเป็นแบบแผนเดียวกันการเสกก็จะเป็นไปอย่างราบรื่นไม่สะดุดติด ไม่ขัดกันเพราะความเห็นแปลกแยก พระอาจารย์นิยมได้ประกอบพิธีตั้งธาตุ บรรจุธาตุ และเรียกอาการสามสิบสองให้อย่างครบถ้วน จากนั้นอาจารย์ธรรมนูญได้นำพระเข้าร่วมเสกในพิธีเททอง พระกริ่งชินบัญชร ของ หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ในพิธีนี้มีพระเถรานุเถระที่สนิทชิดชอบกับหลวงปู่โทนและแก่กล้าในวิทยาคุณร่วมนั่งปรกด้วย 4 รูปคือ 1. พระครูวิทิตพัฒนาการ (จ้อย พุทธสโร) วัดหน้องน้ำเขียว ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 2. พระครูพิสิษฐชโลปการ (เกลี้ยง มนุญโญ) วัดเนินสุทธาวาส ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 3. พระครูสุภัททาจารคุณ (สิน ภัททาจาโร) วัดละหารใหญ่ ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 4. พระครูวิสุทธสีลากร (แดง) วัดช่องลม ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี เหตุที่อาจารย์ธรรมนูญนำพระปิดตาไปเข้าพิธีที่วัดเขาน้อยคีรีวันได้ เพราะหลวงปู่โทนได้ขอให้อาจารย์ไปเป็นเจ้าพิธีดำเนินการบวงสรวงครูบาอาจารย์ และเทพ พรหม ต่อมาทางเจ้าอาวาสวัดสมถะในตัวเมืองชลบุรีได้ทำการจัดสร้างองค์จตุคามรามเทพขึ้นตามแบบอย่างนิยมในยุคนั้น ก็ได้เชิญอาจารย์ธรรมนูญเป็นเจ้าพิธีอีก อาจารย์จึงนำพระปิดตาไปร่วมพิธีเทวาภิเษกในครั้งนั้นด้วย พระเถระที่มาร่วมเท่าที่นึกได้ก็มี 1. พระมงคลสุทธิคุณ (ฟู อติภัทโท) วัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 2. พระครูวิทิตพัฒนาการ (จ้อย พุทธสโร) วัดหนองน้ำเขียว ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 3. พระอธิการโทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 4. พระครูวิสุทธสีลากร (แดง) วัดช่องลม ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี และในปีต่อมา พ.ศ. 2551 ท่านพระครูพิศิษฐชโลปการ หรือ หลวงพ่อเกลี้ยง มนุญโญ ได้ทำการเททอง พระกริ่งชโลปการ ขึ้นที่วัดเนินสุทธาวาส อาศัยที่ท่านทั้งสองมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อจึงมีบัญชาให้คนมาตามอาจารย์ธรรมนูญไปเป็นเจ้าพิธีบวงสรวง ซึ่งในการนี้อาจารย์ก็ได้นำพระปิดตาไปเข้าพิธีอีกวาระหนึ่ง พระเถระที่มาร่วมพิธีก็มี 1. พระครูพิสิษฐชโลปการ (เกลี้ยง มนุญโญ) วัดเนินสุทธาวาส ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 2. พระครูวิทิตพัฒนาการ (จ้อย พุทธสโร) วัดหนองน้ำเขียว ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 3. พระมงคลสุทธิคุณ (ฟู อติภัทโท) วัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 4. พระอาจารย์วัดนามะตูม (ศิษย์หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อพิธีเททองผ่านไปได้สักระยะหนึ่ง ทางวัดก็จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชโลปการและวัตถุมงคลต่าง ๆ ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกัน อาจารย์ธรรมนูญก็ยังคงเป็นเจ้าพิธีเช่นเดิมและได้นำพระปิดตามหาอุตม์-อุดมลาภไปเข้าพิธีอีกครั้งหนึ่ง พระเถระในพิธีมีดังนี้ 1. พระครูพิสิษฐชโลปการ (เกลี้ยง มนุญโญ) วัดเนินสุทธาวาส ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 2. พระครูวิทิตพัฒนาการ (จ้อย พุทธสโร) วัดหนองน้ำเขียว ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 3. พระมงคลสุทธิคุณ (ฟู อติภัทโท) วัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 4. พระครูวิสุทธสีลากร (แดง) วัดช่องลม ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี และสำหรับพิธีพุทธาภิเษกนี้ ก็เป็นพิธีท้ายสุดที่อาจารย์นำพระปิดตาไปเข้าร่วมเสกโดย พระสงฆ์ ต่อจากนั้นมาอาจารย์ก็ทำพิธีบรรจุคุณด้วยตัวเองมาตลอดจนปัจจุบัน สำหรับผงพุทธคุณและผงวิเศษต่าง ๆ ที่นำมาสร้างเป็นพระปิดตามหาอุตม์-อุดมลาภ ได้รวบรวมไว้มีรายการดังต่อไปนี้ 1. ผงพุทธคุณที่ใช้สร้างพระปิดตาวัดเครือวัลย์รุ่นเก่า ๆ ซึ่งตกทอดมายังอาจารย์ธรรมนูญ 2. ผงพุทธคุณหลวงปู่ภู วัดต้นสน 3. ผงปูนหุ้มพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช 4. ผงธูปเจดีย์พระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์กว่า 10 แห่ง 5. เศษกระเบื้องพระธาตุนภเมทนีดล และ พระธาตุนภพลภูมิสิริ 6. ดินใต้กรุพระสุโขทัย และ กรุกำแพงเพชร ของ หลวงพ่อพุฒิ สารสุข วัดเขาไม้แดง ศรีราชา มอบให้ 7. ผงพุทธคุณพระสมเด็จเก่า ของ หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ มอบให้ 8. ผงพระเสด็จกลับ ของ หลวงปู่สุภา กันตสีโล มอบให้ 9. ผงพระปิดตานอโม วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร ปลุกเสกแล้วโดย พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ พระครูพิพัฒนสิริธร (พระอาจารย์คง สิริมโต) วัดบ้านสวน พระอาจารย์หมุน ยสโรวัดเขาแดงตะวันตก พระอาจารย์ชม นิ้วเพชร หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม วัดถ้ำ เขาเงิน ฯลฯ 10. ผงมหาว่านดำ - ผงมหาว่านขาว ของ ท่านพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง ปลุกเสกแล้วเมื่อครั้งอินโดจีน พระอาจารย์พรหม ขันติโก วัดบ้านสวน จ.พัทลุง มอบให้ 11. ผงพุทธคุณพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านเขียว อินทมุนี วัดหรงบน จ.นครฯ พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ วัดสวนขัน จ.นครฯ พ่อท่านมุ่ย จันทสุวัณโณ วัดป่าระกำเหนือ จ.นครฯ หลวงพ่อเนียม วัดบางไทร มอบให้ 12. ผงพุทธคุณ 49 พระอาจารย์ อาทิ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อขัน อินทปัญโญ วัดนกกระจาบ หลวงพ่อแก้ว วัดสามเรือน หลวงปู่ใหญ่ ติณณสุวัณโณ วัดสะแก หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่ออั้น คันธาโร วัดพระญาติการาม หลวงพ่อคร้าม วัดกุ่มหัก หลวงพ่ออุ่ม วัดไผ่ต่ำ ฯลฯ หลวงพ่อจวน วัด บ้านสร้าง มอบให้ 13. ผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม หลวงพ่อปึก วัดรางบัว ได้รับมาจาก หลวงน้าของท่าน และท่านได้ยกให้หลวงปู่ศรี วัดเกาะ หลวงปู่ศรีวัดเกาะเมตตามอบให้ 14. ผงเกราะเพชร พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตกทอด ถึงพระใบฎีกาบุญยัง คังคสโร วัดหนองน้อย และพระใบฎีกาบุญยังมอบให้หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร วัดคลองมอญ หลวงพ่อมหาโพธิ์ มอบให้ 15. ผงจินดามณี หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี ผงดินหน้าตะโพน หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี วัดศาลาดิน ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มอบให้ 16. ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง (ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน) 17. ดินใต้กุฏิพระอรหันตเจ้าผู้เป็นอสีติมหาสาวกหลายพระองค์ เช่น พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระอานนท์ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระมหากัจจายนะ พระสิวลี ฯลฯ 18. ดินกากยายักษ์ (ของจริง) จากเขาสันกาลาคีรี จ.ยะลา จุดเดียวกับที่ใช้สร้างพระหลวงพ่อทวด ปี 2497 19. ว่านมหามงคลกว่า 2,000 ชนิด ที่ใช้สร้างพระหลวงพ่อทวด ของ หลวงตาแดง สุนทโร วัดศรีมหาโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พระปลัดจ่าง มอบให้ 20. ผงพุทธคุณ ของ พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี บางกอกน้อย ธนบุรี หลวงพ่อเฟื่อง วัดเจ้ามูล มอบให้ 21. ผงพุทธคุณ ของ พระเทพสาครมุนี (แก้ว สุวัณณโชโต) วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร 22. ผงกะลามหาอุด (กะลาไม่มีตา) คุณธีรพงษ์ วัชราภิณชัย มอบให้ 23. ผงข้าวสารหิน ของ พระครูศีลมงคล (อาจารย์ทอง) วัดสำเภาเชย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี มอบให้ 24. เม็ดยาจินดามณี ของ หลวงปู่บุญ ขันธโชติ หลวงปู่เพิ่ม ปุญญวสโน วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม คุณณรงค์ฤทธิ์ ฉัตรชัยเวช มอบให้ 25. ผงชานหมากหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า จ.ระยอง หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดเขารัง จ.ภูเก็ต หลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ หลวงพ่อเปลื้อง วัดลาดยาว จ.นครสวรรค์ 26. สีผึ้งเจ็ดจันทร์ หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก จ.ระยอง 27. ผงพุทธคุณ ของ หลวงพ่อเพิ่ม อัตตทีโป วัดป้อมแก้ว อยุธยา หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ อยุธยา หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน จ.อ่างทอง หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง หลวงพ่อมหาอาคม วัดดาวนิมิตร จ.เพชรบูรณ์ หลวงพ่อแดง สิริภัทโท วัดห้วยฉลองราษฎร์ จ.อุตรดิตถ์ หลวงพ่อแก้ว วัดร่องดู่ หลวงพ่อทอง วัดเกาะสุวรรณาราม หลวงพ่อบุญมาก วัดโพธิ์ 28. ผงพุทธคุณ ของ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท หลวงพ่อเชื้อ สุกกวัณโณ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท หลวงพ่อพริ้ง มณีธาโน วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ มอบให้ 29. ผงพุทธคุณ ของ พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม อิสริโก) วัดละหารไร่ จ.ระยอง คุณมาโนช เหล่าขวัญสถิตย์ มอบให้ 30. ผงพุทธคุณ ของ หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ คุณหมอสมสุข คงอุไร มอบให้ 31. ผงพุทธคุณ ของ หลวงพ่อพุฒิ สารสุข วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี คุณบรรณฑวรรษ เฮงสัมฤทธิ์ผล มอบให้ 32. ผงพุทธคุณ ของ หลวงปู่เริ่ม วิมโล วัดบางน้ำจืด จ.สุราษฎ์ธานี หลวงปู่รัช วัดกะเปา หลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง หลวงพ่อชื่น วัดควนหวาด หลวงพ่อเอียด วัดบางกล่ำ หลวงพ่อแจ้ง วัดทรายขาว หลวงพ่อแสง วัดถ้ำพุทธโกสีย์ หลวงพ่อหวาน วัดสะบ้าย้อย หลวงพ่อแก้ว วัดสำเภาใต้ หลวงพ่อรื่น วัดช่องเขา หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า และ หลวงพ่อเจียร วัดธรรมาวาส คุณธนกฤต เฮงสัมฤทธิ์ผล มอบให้ 33. ผงพุทธคุณ ของ หลวงปู่เส็ง จันทรังสี วัดบางนา จ.ปทุมธานี หลวงปู่บาง วัดหนองพลับ จ.สระบุรี ครูบาหล้า วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง หลวงพ่อผัน วัดแปดอาร์ จ.สระบุรี ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อเจริญ วัดตาลานใต้ หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย อยุธยา หลวงพ่อชม วัดนางใน จ.อ่างทอง หลวงพ่อหรุ่ม วัดบางจักร จ.อ่างทอง หลวงพ่อกิมเส้ง วัดโอภาสี หลวงพ่อง้อ วัดดาวดึงส์ หลวงพ่อกอน วัดบางแคใหญ่ หลวงพ่อกุ่ย วัดนกงาง หลวงพ่อนูน วัดบางกา หลวงพ่อหนู วัดวังศาลา หลวงพ่อชอบ วัดเขารังเสือ หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี หลวงพ่อนนท์ วัดเหนือวน จ.ราชบุรี หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม จ.ราชบุรี หลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง หลวงพ่อทองเบิ้ม วัดวังยาว จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี หลวงพ่อแล วัดพระทรง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อเรือง วัดบ่อกรูด จ.เพชรบุรี หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง หลวงพ่อเจ๊ก วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน จ.พัทลุง หลวงพ่อแดง วัดท่าแซ หลวงพ่อเนียม วัดต้นเลียบ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าบอน หลวงพ่อแสง วัดหนองเขว้า จ.สุรินทร์ หลวงปู่นิล วัดครบุรี จ.นครราชสีมา หลวงพ่อฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ จ.สุรินทร์ หลวงปู่เจียม วัดหนองยาว จ.สุรินทร์ หลวงพ่อทอง วัดบ้านหนองเหล็ก หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ หลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกด จ.ศรีสะเกษ หลวงปู่สวน วัดนาอุดม จ.อุบลราชธานี หลวงพ่อบุญ วัดหัวเขา หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา หลวงพ่อกล่ำ วัดวิสุทธิยาราม หลวงพ่อจันทร์ วัดป่าข่อย หลวงพ่อผล วัดเนินทอง หลวงพ่อลาภ วัดโพธิ์พระนอก หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่อเล็ก วัดลาดทราย หลวงพ่ออรรถ วัดองครักษ์ หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี หลวงพ่อผล วัดเชิงหวาย หลวงพ่อผล วัดพันท้ายนรสิงห์ หลวงพ่อสีนวล วัดเกวียนหัก หลวงปู่หมุน วัดป่าหนองหล่ม หลวงพ่อบ๊ก วัดเนินพยอม จ.ชลบุรี หลวงปู่แร่ วัดเซิดสำราญ จ.ชลบุรี หลวงพ่อชม วัดโป่ง จ.ชลบุรี หลวงพ่อรักษ์ วัดน้อยแสงจันทร์ หลวงพ่อแม้น วัดพิชิตปิตยาราม หลวงพ่อจุฬ วัดขุมแก้ว หลวงพ่อเชย วัดบางคล้า หลวงพ่อสด วัดโพธิ์แตงใต้ หลวงปู่เหล็ง วัดโคกเพลาะ หลวงปู่เจ๊ก วัดระนาม หลวงปู่ฉาบ วัดคลองจันทร์ หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว หลวงปู่ชื่น วัดตาอี หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค หลวงปู่รอด วัดสันติกาวาส ครูบาสุรินทร์ วัดหลวงศรีเตี้ย ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร หลวงพ่อไสย วัดคานหาม หลวงพ่อวัน วัดวังยาวล่าง หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร หลวงพ่อพระครูชลโธปมคุณ วัดเขาบางทราย หลวงพ่อเล็ก วัดทำนบ หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง หลวงพ่อสุข วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่ หลวงปู่พวง วัดสหกรณ์รังสรรค์ หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์แทน หลวงพ่อชม วัดท่าทราย หลวงพ่อพริ้ม วัดสามปลื้ม หลวงพ่อเผื่อน วัดโคกกุ่ม หลวงพ่อทองใบ วัดอบทม หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือรายนามส่วนหนึ่งของพระเถรานุเถระที่มีทั้งพระกรรมฐานปฏิบัติธรรมและพระที่ทรงไว้ซึ่งวิทยาคุณอย่างเอกอุ ได้เมตตามอบผงพุทธคุณและผงวิเศษนานาประการมาให้เป็นส่วนผสมอย่างน่าอนุโมทนายิ่ง และน่าเห็นใจท่านผู้เสาะหารวบรวมสะสมมานานนับสิบปี แล้วยังตัดใจสละออกเพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้แทนที่จะคิดเก็บไว้เพียงลำพังคนเดียว พระปิดตานี้นับเพียงผงวิเศษแล้วก็เกินบรรยายความ กดพิมพ์แล้วยังอยากบอกว่าขลังอยู่ในตัวเองแทบไม่ต้องปลุกเสกอีก แต่เมื่อสำเร็จเป็นองค์พระแล้วก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของโบราณประเพณี ผงวิเศษบางอย่างมีที่มาแสนพิสดาร เล่ามากก็น่าเกรงจะว่าโม้ เอาเป็นว่าแปลกดีมาก ๆ ก็แล้วกัน เช่น ไปพบแร่น้ำพี้ในบ่อแร่ที่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ทดลองเอาปืนสั้นปืนยาวยิงดิ่งลงไปในบ่อยังไม่ลั่นได้สักโป้ง มีแต่แปะ แปะ กับ ฟุ่บ ฟุ่บ และเมื่อนำแร่น้ำพี้ในบ่อมาบดสร้างพระที่วัดเมืองใหม่ อ.เมือง จ.ชลบุรี เอากล้องถ่ายรูปมาบันทึกเก็บรูปไว้เป็นที่ระลึกหลักฐาน กดชัตเตอร์ก็ยังดัง...ฟุ่บ..ฟุ่บ.. และถ่ายไม่ติดแม้แต่ภาพเดียว นี่ขนาดเอาผงแร่มาคุลีการผสมกับผงอื่น ๆ แล้วหนา มีแร่อีกอย่างที่พระอาจารย์วิเชียร วัดเนินสุทธาวาส ได้เดินทางไปเอาออกมาจากถ้ำทางภาคเหนือโดยไปกับหลวงพ่อเกลี้ยง มนุญโญ เมื่อวัยหนุ่ม วิธีการนำขึ้นมาจากบ่อทำอย่างไรก็ไม่ได้ สุดท้ายต้องใช้วิธีพิสดารเหลือแสนคือ เอาเบ็ดตกปลาหย่อนลงไป ก้อนแร่ก็จะกินเบ็ดติดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เลยไม่รู้จะเรียกแร่วิเศษนี้ว่าอะไรดีจึงควร...แร่ปลา.... รึก็คงไม่เหมาะ และสารพัดแร่ศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวนั้นแล ที่ได้นำมาบดเป็นผงผสมลงไปในองค์พระ และยังได้นำก้อนแร่บางชนิดบรรจุลงที่อุทรขององค์พระ บางองค์ก็เป็นพลอยจากเมืองจันท์ก็มี สุดแต่วาสนาของผู้บูชาว่าจะหยิบได้องค์ไหน มีบางท่านถามผมว่าทำไมอาจารย์ธรรมนูญจึงไม่ปลุกเสกเดี่ยวสำหรับพระปิดตารุ่นนี้ ผิดกับวัตถุมงคลชนิดอื่น ๆ ที่ผ่านมา เรื่องนี้อาจารย์นูญเคยบอกกับผมว่า เราเป็นแค่ฆราวาส สร้างรูปพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์เห็นจะไม่เหมาะเพราะศีลเราไม่เท่าท่าน ทีนี้เมื่อทำขึ้นแล้วเราต้องถวายให้พระสงฆ์ด้วยกันท่านบวชให้ เราเป็นฆราวาสบวชให้ท่านไม่ได้หรอก ต้องให้พระท่านบวชพระด้วยกันเอง เมื่อขั้นตอนนั้นสำเร็จแล้ว เราจะนำมาบรรจุคุณอีกทีหนึ่งก็ไม่ผิดกติกาแล้วครับ นี่คือสติปัญญาและคุณธรรมของอาจารย์นูญ ซื่อ ๆ ง่าย ๆ แต่แฝงไว้ด้วยคติธรรมครับ ผมอยู่กับท่านมา ยังไม่เคยเห็นโอ้อวดหรือออกแนวโม้ตัวเองจนน่าเกลียด และไม่ได้ถ่อมตัวจนชวนให้คิดว่าย่อลงต่ำเพื่อจะได้โดดขึ้นสูง ท่านเรียบ ๆ ง่าย ๆ สบาย ๆ ขนาดเผลอคิดไปว่าถ้าเป็นพระสงฆ์ก็น่ากลัวว่าจะได้คุณธรรมขั้น ละอัตตา วางตัวตนได้ 7 ส่วนใน 10 ส่วนแล้วกระมัง สำหรับการบรรจุคุณพระปิดตามหาอุตม์-อุดมลาภโดยพระสงฆ์ด้วยกันก็คงไม่มีใดต้องสงสัย หากสำหรับอาจารย์นูญเองก็ไม่มีใดต้องสงสัยเช่นกัน ท่านทำเต็มที่ ทำสุดความสามารถเหมือนดังที่เคยทำมากับวัตถุมงคลทุกรุ่นทุกอย่าง เรียกว่าดีทั้งในและดีทั้งนอกแน่นอน ดังนั้น ของดีเยี่ยมดียอดเช่นนี้รอช้าอยู่ได้หรือ ? ถ้าใครนับถือในตัวอาจารย์ธรรมนูญ... ใครที่ชอบมงคลวัตถุในรูปพระสงฆ์... ใครที่เลือกเฟ้นนักหนาเรื่องชนวนมวลสาร... ใครที่เพ่งเล็งรายนามองค์ผู้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกเป็นสำคัญ... พระปิดตาองค์น้อยนี้จะเป็นคำตอบคำโตที่เติมเต็มความต้องการได้อย่างสนิทใจ ด้วยจำนวนสร้างที่น้อยนิดเพียงห้าร้อยกว่าองค์ คงต้องรีบดำเนินการอยู่สักหน่อยสำหรับผู้มีศรัทธา ถ้าปล่อยเนิ่นช้าแล้วปรารถนา ทีหลังก็ต้องร้องเพลงโศกาโศกีแน่ ๆ เลยครับ ***************************************************************** พระปิดตาองค์นี้อาจารย์ธรรมนูญได้ลงอักขระไว้ที่ด้านหลังด้วยมือท่านเองเรียบร้อยแล้วครับ แขวนเดี่ยวได้อย่างสบายใจที่สุดเลย |
ราคาวัตถุมงคล : |
บาท |
สถานะ : |
|
ขั้นตอนการชำระเงิน | ||||||||||||||||||
หลังจากทำการสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว ( เสร็จสมบูรณ์ ) ท่านสามารถเลือกธนาคารใดก็ได้ดังต่อไปนี้ เพื่อทำการโอนเงิน
|