ติดต่อคุณชิน 084-3589848 Email : russameeprom@gmail.com
รหัสวัตถุมงคล : |
361 |
ชื่อวัตถุมงคล : |
เหรียญพระหูยานจปร. และเหรียญรัชกาลที่ ๕ ปีพ.ศ. 2513 |
กลุ่มวัตถุมงคล : |
เทพ พรหม บุคคลสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
|
รายละเอียดวัตถุมงคล : |
ประวัติการสร้าง
พระหูยานจปร. และเหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ปีพ.ศ. ๒๕๑๓ วัตถุมงคล ฉลอง ๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ อีกหนึ่ง ของดีที่ถูกซ่อนเร้น เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ จัดทำเป็น ๒ ชนิดคือ ทองคำ ๒๐๙ เหรียญ และ ทองแดง ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญ ออกแบบโดยกรมศิลปากร และ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ครึ่งพระองค์ มีตัวอักษรล้อมรอบพระบรมรูปใจความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชบพิธฯ ๒๗ มกราคม ๒๔๑๒ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือบางเหรียญมีรอยแตกร้าว เมื่อเหรียญรุ่นนี้เนื้อกลับดำแล้วจะมีลักษณะออกไปทาง เนื้อสำริด มิใช่ เนื้อทองแดง จึงตรงกับข้อมูลของช่างและทางวัดว่าเป็น เนื้อทองผสม ที่เจือโลหะมงคล ที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ และเจือด้วยโลหะจากวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ และ แผ่นโลหะลงอักขระ ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรจำนวนถึง ๑๐๘ รูป ส่วนด้านหลังเป็นตราวัดราชบพิธฯ มีพระเจดีย์อยู่ตรงกลางแวดล้อมด้วยพระอุโบสถ และพระวิหาร มีก้อนเมฆ และสุมทุมพุ่มไม้ประกอบเป็นทิวทัศน์ พร้อมอักษรล้อมรอบว่า ที่ระลึกงานครบรอบร้อยปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒๗ มกราคม ๒๕๑๒ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นรุ่นที่จัดสร้างขึ้นในโอกาสที่ วัดราชบพิธฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสถาปนา เป็นพระอารามที่ ๑ ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๒ และ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ จึงมีอายุครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์ ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑) ครั้งยังทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ ได้ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทยซึ่งขณะนั้น จอมพลประภาส จารุเสถียร (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้างปูชนียวัตถุหลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และโดยที่วัดราชบพิธฯ เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็นวัดประจำรัชกาล จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต อัญเชิญ ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้ ต่อจากนั้นได้จัดหาแผ่นทองถวายพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ทั่วพระราชอาณาจักรให้ลงอักขระเลขยันต์พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้นโดยมีรายนามพระอาจารย์รูปสำคัญ ๆ ดังนี้ ๑. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ๒. หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา ๓. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม ๔. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา ๕. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา ๖. หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม ๗. หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ๘. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี ๙. พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง ๑๐. หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ ศรีสะเกษ ๑๑. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี ๑๒. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี ๑๓. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ๑๔. พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปัตตานี ๑๕. หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี ๑๖. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง ๑๗. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร ๑๘. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี ๑๙. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม ๒๐. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี และคณาจารย์รูปอื่น ๆ อีกมีจำนวนรวมถึง ๑๐๘ รูป ได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ ๑๐๘ แผ่นเพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ตั้งใจทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็นงานใหญ่ที่นาน ๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้น โดยวัตถุมงคลทั้งหมดอันได้แก่ พระพุทธอังคีรสจำลอง, พระพุทธรูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ, พระกริ่งจุฬาลงกรณ์-พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์, พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.), พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ครึ่งพระองค์, เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ และ แหวนมงคล ที่สร้างขึ้นในวาระเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น ปฐมฤกษ์ ในวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำเป็นปฐมฤกษ์ และทองชนวนที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้างวัตถุมงคลทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 9 เดือนจึงแล้วเสร็จ จากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน คือระหว่างวันที่ ๒๙-๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี จุดเทียนชัย ในวันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนาวัดราชบพิธฯ ครบ ๑๐๑ ปีกับ ๒ วัน อนึ่งนับเป็นวาระอันพิเศษยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่วัดราชบพิธฯ ยิ่งนัก เพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปี ที่วัดราชบพิธฯ ถึง ๒ วันด้วยกัน คือ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อันเป็นวันเริ่มพิธีมหาพุทธาภิเษกได้เสด็จฯ ทรงจุด เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล และ เทียนนวหรคุณ ในเวลา ๑๖.๐๕ น. และในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๒๔.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรงพระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ จึงนับเป็น กรณีพิเศษยิ่ง ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง ๒ วัน นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี เททองเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ แล้วดังนั้น วัตถุมงคลชุด ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธฯ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง ๒ พระองค์ด้วยกันคือ รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๙ |
ราคาวัตถุมงคล : |
บาท |
สถานะ : |
|
ขั้นตอนการชำระเงิน | ||||||||||||||||||
หลังจากทำการสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว ( เสร็จสมบูรณ์ ) ท่านสามารถเลือกธนาคารใดก็ได้ดังต่อไปนี้ เพื่อทำการโอนเงิน
|