ติดต่อคุณชิน 084-3589848 Email : russameeprom@gmail.com
รหัสวัตถุมงคล : |
340 |
ชื่อวัตถุมงคล : |
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ไตรรัตนาธิคุณ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ อ. เมือง จ. ลพบุรี |
กลุ่มวัตถุมงคล : |
พระเครื่องภาคกลาง
|
รายละเอียดวัตถุมงคล : |
เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคล ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านพระอาจารย์ติ๋ว ท่านจึงมีดำริให้สืบสานวิชาการของครูบาอาจารย์ด้วยการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา
ด้วยองค์ท่านเป็นผู้เตรียมการรอบคอบ ท่านจึงสะสมชนวนมวลสารเอาไว้แต่เนิ่นนานนับได้เป็นสิบปี เพื่อใช้การเททองหล่อพระชุดนี้โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นพระยันต์ต่าง ๆ ที่ครูบาอาจารย์แต่ละองค์มีความถนัดชำนิชำนาญ ท่านพระอาจารย์ก็ได้นำแผ่นโลหะไปขอให้ท่านเหล่านั้นจารให้ บางชุด บางแผ่น คณะศิษย์ก็นำมาถวาย รวมกันแล้วนับได้หลายร้อยแผ่น ทั้งนี้ยังไม่กล่าวถึงพระยันต์บังคับ ๑๐๘ ยันต์ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ซึ่งท่านอาจารย์ได้จารและอธิษฐานจิตไว้เรียบร้อยแล้ว ตะกรุดสำนักต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่อีกหลายร้อยดอก ซึ่งมีทั้งของพระเถระและอาจารย์ฆราวาสที่แก่กล้าในวิทยาคุณ ชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าจำนวนมากกว่า ๓๐ แท่ง ดังนั้น ท่านใดที่ได้ร่วมกับท่านพระอาจารย์ติ๋วสร้างรูปเคารพพระพุทธองค์ในครั้งนี้ จะด้วยกำลังทรัพย์ก็ดี ด้วยกำลังกายก็ดี ด้วยกำลังใจก็ดี ย่อมมีอานิสงส์มากไม่มีประมาณ สมดังคำที่พระคุณเจ้า หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สร้างพระหนึ่งองค์ ได้อานิสงส์ห้ากัปป์นะแก ชนวนพระกริ่งและชนวนเหรียญ ชนวนพระกริ่งในสายวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ ๑. พระกริ่งจอมพลผิน ชุณหวัณ พ.ศ. ๒๔๙๗ ๒. พระชัยวัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๑ ๓. พระกริ่งเป็งย้ง ของ พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๒๐ ๔. พระกริ่งพุธเพ็ญ พ.ศ. ๒๕๒๔ ๕. พระกริ่งเสาร์ห้า พ.ศ. ๒๕๒๕ ๖. พระชัยวัฒน์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ๗. พระกริ่งวันเพ็ญ พ.ศ. ๒๕๓๘ ๘. พระกริ่ง พ.ศ. ๒๕๔๘ ชนวนพระกริ่งในสายวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ๑. พระกริ่งไพรีพินาศ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๒. พระกริ่ง ภ.ป.ร. พ.ศ. ๒๕๐๘ ๓. พระกริ่งไพรีพินาศ พ.ศ. ๒๕๒๘ ๔. พระกริ่งปวเวศ รุ่น ๒ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๕. พระกริ่งโภคทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ๖. พระกริ่ง ๘๐ พรรษา ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. ๒๕๓๗ ๗. พระกริ่งไพรีพินาศ พ.ศ. ๒๕๔๕ ๘. พระกริ่งบวรรังษี ชนวนพระกริ่งของสำนักต่าง ๆ ๑. พระกริ่งตรีทศเทพ พ.ศ. ๒๔๙๑ ๒. พระกริ่งหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ๓. พระกริ่งชินบัญชร ของ พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม อิสริโก) วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พ.ศ. ๒๕๑๗ ๔. พระกริ่งจันทรประภา พ.ศ. ๒๕๔๐ ๕. พระกริ่งนารายณ์แปลงรูป ของ พระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธัมมภูโต) วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พ.ศ. ๒๕๔๒ ๖. พระกริ่งหลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ๗. พระกริ่งวัดปริวาส กรุงเทพ ๘. พระกริ่งพาหุง-มหา ของ หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ๙. พระกริ่งหลวงพ่อลี วัดหัวตลุก ๑๐. พระกริ่งอิทธิเจ ของ อ.สุรสีห์ ไชยสีหนาท จ.นครราชสีมา ๑๑. พระกริ่งหลวงปู่สวน ฉันทโร วัดตาลสุม จ.อุบลราชธานี ๑๒. พระกริ่งจักรพรรดิ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. ๒๕๔๖ ชนวนเหรียญ ๑. ชนวนเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ ๒. ชนวนเหรียญหนุมานเชิญธง วัดพรหมมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ๓. ชนวนเหรียญรัศมีพรหม (ข้าวหลามตัด) วัดมณีชลขัณฑ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ตะกรุดสำนักต่าง ๆ ๑. ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน จ.เพชรบุรี ๒. ตะกรุดสังวาล ๑๖ ดอก หลวงปู่จัน วัดนางหนู จ.ลพบุรี ๓. ตะกรุดโทน หลวงปู่ฉาบ วัดคลองจันทร์ จ.ชัยนาท ๔. ตะกรุดโทน หลวงพ่อดัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท ๕. ตะกรุดเกราะเพชร หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ จ.ชัยนาท ๖. ตะกรุดโทน หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว จ.ชัยนาท ๗. ตะกรุดมหาจักรพัตราธิราช หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ๘. ตะกรุดพุทธคุณ หลวงปู่สีห์ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ๙. ตะกรุดโทน หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๐. ตะกรุดรัตนมาลา หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๑. ตะกรุดมหาอุด หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๒. ตะกรุดมหาอุด หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓. ตะกรุดโทน หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี ๑๔. ตะกรุดโทน หลวงปู่เลี้ยง วัดหนองเต่า จ.ลพบุรี ๑๕. ตะกรุดโทน หลวงพ่อกรี วัดหลวงสุวรรณาราม จ.ลพบุรี ๑๖. ตะกรุดโทน หลวงพ่อโก๊ะ วัดลาดสาลี่ จ.ลพบุรี ๑๗. ตะกรุดโทน หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี ๑๘. ตะกรุดโทน หลวงพ่อนวล วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี ๑๙. ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี ๒๐. ตะกรุดโทน หลวงพ่อบุญมี วัดสิงห์ทอง จ.ลพบุรี ๒๑. ตะกรุดโทน หลวงปู่ป้อง วัดกกโก จ.ลพบุรี ๒๒. ตะกรุดโทน หลวงพ่อโปร่ง วัดห้วยแก้ว จ.ลพบุรี ๒๓. ตะกรุดแคล้วคลาด หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี ๒๔. ตะกรุดโทน หลวงพ่อเพ็ง วัดถนนใหญ่ จ.ลพบุรี ๒๕. ตะกรุดโทน หลวงพ่อมาก วัดท่าเดื่อ จ.ลพบุรี ๒๖. ตะกรุดโทน หลวงพ่อสมุห์ดำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี ๒๗. ตะกรุดโทน หลวงพ่อหิน วัดเขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี ๒๘. ตะกรุดโทน หลวงพ่อไหล วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี ๒๙. ตะกรุดโทน หลวงพ่ออิน วัดพรหมมาสตร์ จ.ลพบุรี ๓๐. ตะกรุดโทน พระอาจารย์เบีย วัดกลางบางขันหมาก จ.ลพบุรี ๓๑. ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อสว่าง วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี ๓๒. ตะกรุดเสริมลาภ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ๓๓. ตะกรุดคงกระพัน หลวงพ่อผัน วัดราษฎ์เจริญ จ.สระบุรี ๓๔. ตะกรุดโทน หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน จ.สระบุรี ๓๕. ตะกรุดโทน หลวงพ่อแอ วัดห้วยประดู่ จ.สระบุรี ๓๖. ตะกรุดโทน หลวงปู่บุญ วัดท่าอิฐ จ.สิงห์บุรี ๓๗. ตะกรุดโทน หลวงพ่อเอาะ วัดม่วง จ.สิงห์บุรี ๓๘. ตะกรุดโทน หลวงพ่อบุญมี วัดเกาะสีสำโรง จ.สุโขทัย ๓๙. ตะกรุดคงกระพัน หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี ๔๐. ตะกรุดมหาอุด หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท ๔๑. ตะกรุดไตรสรณคมน์ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ๔๒. ตะกรุดโทน หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข จ.สิงห์บุรี ๔๓. ตะกรุดมหาอุด หลวงพ่อพุฒ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี ๔๔. ตะกรุดชุด ๕ ดอก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ๔๕. ตะกรุดโทน (เนื้อเงิน) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ ๔๖. ตะกรุดโทน หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง กรุงเทพ ๔๗. ตะกรุดโทน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก ตะกรุดเกือบทุกดอกดังกล่าวมา ล้วนเป็นสมบัติส่วนตัวที่ท่านพระอาจารย์ติ๋วสละออกมาหล่อหลอมเป็นพระพุทธองค์น้อย เพื่อหวังผลให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ทรงคุณค่าสูงสุด เป็นสิริมงคลอย่างแท้จริงแก่ผู้ได้รับไปบูชา จึงนับว่าเป็นบุญลาภสำหรับผู้ที่ได้รู้ได้เห็นพิธีการทุกขั้นตอนและย่อมเป็นวาสนาอย่างยิ่งแก่ผู้ครอบครอง ในการสร้างพระกริ่งนั้น สมเด็จพระสังฆราชแพทรงใส่ปรอทสะตุลงไปหลอมร่วม แต่ท่านพระอาจารย์ติ๋วได้ใส่ ปรอทสำเร็จ ซึ่งถูกหุงขึ้นด้วยพระเถระที่มีอำนาจจิตสูง ทรงคุณธรรมเป็นที่ยอมรับในหมู่นักปฏิบัติภาวนา เรียกว่าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ชุดนี้ เป็นพระกริ่งที่เปี่ยมด้วยคุณวิเศษอันเกิดจากการประชุมของวัตถุธาตุศักดิ์สิทธิ์ และจิตที่แข็งแกร่งของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย รวมถึงท่านพระอาจารย์ติ๋วผู้สถาปนาพระชุดนี้อย่างไม่มีใดต้องสงสัย ปรอทสำเร็จที่ท่านอาจารย์ได้นำลงไปหลอมประกอบด้วย ๑. ปรอทสำเร็จ ของ หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก จ.สกลนคร ๒. ปรอทสำเร็จ ของ หลวงปู่ลือ สุขปุญโญ วัดป่านาทามวนาวาส จ.มุกดาหาร ๓. ปรอทสำเร็จ ของ หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม วัดทิพยรัฐนิมิตร จ.อุดรธานี ตะกรุดของอาจารย์ฆราวาส ๑. ตะกรุดโทนวังหน้า ของ คุณตาภู่ ๒. ตะกรุดมหาพิชัยณรงค์ ของ คุณตาภู่ ๓. ตะกรุดไตรสรณคมน์ ของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ๔. ตะกรุดราชามงคล ของ อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว ๕. ตะกรุดมหาอุดพิชัยสงคราม ของ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ๖. ตะกรุดโสฬสมหามงคล ของ อาจารย์ทัน รุจิเรศ ๗. ตะกรุดมหาจังงัง ของ อาจารย์ประยูร จิตโสภี ๘. ตะกรุดอิติปิโสเกราะเพชร ของ อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ ๙. ตะกรุดยันต์ครู ของ อาจารย์ธรรมนูญ บุญธรรม ๑๐. ตะกรุดโสฬสมงคล ของ อาจารย์ทวี ทิวแก้ว ๑๑. ตะกรุดอิทธิเจ ของ อาจารย์สุรสีห์ ไชยสีหนาท ๑๒. ตะกรุดเก่าต่าง ๆ ของ อาจารย์พิทยา ปทีปเสน (อ.แดง) ซึ่งท่านกรุณามอบให้มาทั้ง หมดมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๔๐ ดอก ๑๓. ตะกรุดเมตตาและแผ่นยันต์ ของ อาจารย์แจ้ง เพชรรัตน์ ๑๔. แผ่นพระยันต์ต่าง ๆ ของ อาจารย์ประคอง รุ่นเจริญ มอบให้แต่ครั้งท่านยังบวชเป็นพระอยู่ที่วัดอินทาราม ตลาดพลู กรุงเทพ ๑๕. ตะกรุดมหาจักรพัตราธิราช ของ อาจารย์เฮง ไพรยวัลย์ อาจารย์ทุกท่านดังกล่าวมา แม้เป็นเพียงฆราวาส แต่การปฏิบัติทางจิตของท่านมิได้เป็นจิตอย่างผู้ครองเรือนทั่วไป ด้วยท่านฝึกฝนจิตมาตั้งแต่ยังเล็กบ้าง ออกปฏิบัติอย่างหนักเมื่อสมัยบวชเป็นพระบ้าง แม้เมื่อลาสิกขามาแล้วท่านก็มิได้ทอดธุระกับการเจริญจิตภาวนา ยังผลให้ท่านเหล่านี้ทรงจิตตานุภาพอย่างที่คนทั่วไปไม่อาจมีได้ และท่านยังสามารถแสดงอิทธิวิธีบางประการให้เห็นเป็นอัศจรรย์ อาจพูดได้ว่า แม้ผู้ออกบวชบางรูปก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างท่านเหล่านี้ พิธีเททองหล่อพระ วันเททองถูกกำหนดขึ้นโดยท่านพระอาจารย์ติ๋วเอง นั่นคือวันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ สถานที่เทคือหน้าอุโบสถมหาอุดของ วัดห้วยพลู ต.ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยท่านอาจารย์ให้ความสำคัญกับการนี้มาก ท่านจึงอยู่ควบคุมทุกขั้นตอนด้วยองค์ท่านเองตลอดคืน การตั้งเตาสุมทองโดยนายช่างวิชัย วงศ์อนันต์ หรือ ช่างอ้วน ได้เตรียมการไว้แล้วตั้งแต่หัวค่ำ เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. เศษ ท่านอาจารย์และคณะศิษย์ได้นำตะกรุดและแผ่นยันต์มาใส่เบ้าหลอม ขณะที่ท่านอาจารย์ใส่ตะกรุดลงสู่เบ้าหลอม ทันใดนั้นเองก็มีตะกรุดทองแดงดอกหนึ่งกระโดดออกจากเบ้าหลอมขึ้นมาได้ราวกับมีชีวิต ตะกรุดดอกนั้นตกลงมานอนนิ่งอยู่กับพื้นหน้าอุโบสถ ทำความตื่นตะลึงให้กับผู้อยู่ในเหตุการณ์วันนั้นเป็นยิ่งนัก ไม่อาจบอกได้ว่าตะกรุดทองแดงดอกนั้นเป็นของท่านผู้ใดเพราะไม่มีเชือกถักหุ้มพอให้ดูเป็นสัญลักษณ์ ท่านอาจารย์ได้หยิบตะกรุดดอกนั้นมาพนมแล้วอธิษฐานอะไรอยู่เป็นครู่ จึงนำหย่อนลงเบ้าหลอมอีกครั้งและครั้งนี้ก็ไม่มีเหตุประหลาดใด ๆ เกิดขึ้น เวลา ๐๖.๐๓ น. ท่านพระอาจารย์ติ๋วจุดเทียนเงิน-เทียนทอง กล่าวอัญเชิญครูบาอาจารย์ เวลา ๐๖.๐๙ น. พราหมณ์พิธีอ่านโองการบวงสรวงเทพ พรหม เวลา ๐๖.๒๕ น. ท่านอาจารย์โปรยข้าวตอกดอกไม้เครื่องสังเวย- เครื่องบูชา เวลา ๐๖.๒๙ น. ท่านพระอาจารย์เริ่มเททองพระกริ่งช่อแรก เวลา ๐๗.๐๖ น. เททองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ครบทุกช่อ เวลา ๐๗.๐๙ น. ท่านพระอาจารย์ติ๋วโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงบนเบ้าพระกริ่ง-พระชัย ฯ ทั้งหมดเป็นการสมโภชองค์พระ จากนั้นก็ประพรมน้ำพระพุทธมนต์จนทั่วถึงเป็นเสร็จพิธี ท่านอาจารย์ได้เฉลิมพระนามพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ชุดนี้ว่า พระกริ่งไตรรัตนาธิคุณ แปลความได้ว่า ดวงแก้วอันประเสริฐสูงสุดสามดวง ซึ่งก็หมายถึงพระรัตนตรัยอันเป็นสรณะที่พึ่งเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสรณะอื่นใดยิ่งไปกว่า ด้วยท่านอาจารย์มุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก กำจัดภัยได้จริง เมื่อได้รับพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ครบถ้วนแล้ว ทำการนับและแบ่งประเภทได้ดังนี้ ๑. พระกริ่งไตรรัตนาธิคุณ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๑๒ องค์ แบ่งออกเป็น ๑.๑ พระกริ่งธรรมดาตอกหมายเลข จำนวน ๒๐๗ องค์ ๑.๒ พระกริ่งก้นอุดผงพุทธคุณ จำนวน ๕ องค์ ๒. พระชัยวัฒน์ไตรรัตนาธิคุณ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๒๗ องค์ แบ่งออกเป็น ๒.๑ พระชัยวัฒน์ธรรมดา จำนวน ๒๒๑ องค์ ๒.๒ พระชัยวัฒน์มีก้านชนวนอย่างพระยอดธง จำนวน ๖ องค์ |
ราคาวัตถุมงคล : |
บาท |
สถานะ : |
|
ขั้นตอนการชำระเงิน | ||||||||||||||||||
หลังจากทำการสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว ( เสร็จสมบูรณ์ ) ท่านสามารถเลือกธนาคารใดก็ได้ดังต่อไปนี้ เพื่อทำการโอนเงิน
|