ติดต่อคุณชิน 084-3589848 Email : russameeprom@gmail.com
รหัสวัตถุมงคล : |
265 |
ชื่อวัตถุมงคล : |
พระกริ่งโสฬส มปร. ปี๒๕๑๕ รมดำ พิธีฉลอง ๑๐๘ ปี วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม. |
กลุ่มวัตถุมงคล : |
พระเครื่องภาคกลาง
|
รายละเอียดวัตถุมงคล : |
พระกริ่งโสฬส มปร. ปี๒๕๑๕ รมดำ พิธีฉลอง ๑๐๘ ปี วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม.
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔ มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด และเป็นองค์เดียวของไทยที่สอบได้เปรียญธรรม ๑๘ ประโยคในสมัยนั้น และพระองค์ท่านก็ได้ทรงนิพนธ์โสฬสปัญหา (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระกริ่งโสฬส) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2407 และในปี พ.ศ. 2515 นับเป็นศุภวาระมงคลวโรกาสที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้สถิตสถาพรมีอายุครบ 108 ปี หากเป็นคนก็จะเรียกว่ามีอายุครบ 9 รอบนักษัตรพอดี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) อ่านว่า อุดาทิมะมะหาเถระ เจ้าอาวาสในขณะนั้นเมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ ได้ประชุมปรึกษาหารือพระภิกษุและสามเณรทั้งวัดโดยต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดงานสมโภชตามโบราณราชประเพณี ประกอบกับวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก จึงได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้งานสมโภชครบ 108 ปี ครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีอีกด้วย โดยทางวัดได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1 สมโภชพระอารามหลวงที่มีอายุครบ 108 ปี 2 สมโภช พระนิรันตราย องค์ประจำวัดซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประจำวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งองค์ของวัดราชประดิษฐ์ฯ นี้มีหมายเลขลำดับที่ 14 และต่อมาได้ถูกโจรใจบาปทำการโจรกรรมไป แต่ไม่นานนักก็ติดตามกลับคืนมาได้โดยฝีมือของตำรวจภายใต้การควบคุมของ พล.ต.ต.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) 3 จัดสร้าง พระนิรันตราย (ขนาดบูชา) พร้อม พระกริ่งนิรันตราย และ พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (สา) หรือ พระกริ่งโสฬส รุ่น 2 (รุ่นแรกสร้างเมื่อครั้งจัดงานสมโภชครบ 100 ปีวัด พ.ศ. 2507) นอกจากนั้นยังมี เหรียญนิรันตราย อีก 2 แบบคือ พัดยศ หรือ เจริญยศ และแบบ เสมา หรือ เจริญลาภ รวมทั้ง พระกริ่งนิรันตรายขนาดเล็ก และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พร้อม ล็อกเกตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปสักการบูชาโดยรายได้นำบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์ฯ ที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยกราบบังคมทูลอัญเชิญเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ พระนิรันตราย (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจอง จากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส) และ เหรียญพระนิรันตราย ทั้งสองแบบดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ ล็อกเกต จำนวนหลักร้อยเช่นกัน ซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลแล้วเสร็จได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก และมังคลาภิเษกขึ้นภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้นทั่วพระราชอาณาจักรเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกคืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการ พระกริ่งโสฬสเป็นพระกริ่งที่ฉีดชักกริ่งในตัว เนื้อทองเหลืองรมดำ (บางองค์ก็ไม่มีเสียงกริ่ง) ชนวนที่นำมาหลอมฉีดพระกริ่ง และเหรียญ ได้นำมาจากพระคณาจารย์ชื่อดังทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้วแผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่งและเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก พระคณาจารย์ที่นั่งปรกในวันแรกเท่าที่จำได้มีดังนี้ พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์ เป็นประธาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่หาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๓๕ ปีที่ผ่านมา (พระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกส่วนมากจะมรณภาพเกือบทุกรูปแล้ว) รูปแบบของพระกริ่งนั้น ด้านหน้าเป็นฐานกลีบบัว ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร รูปแบบเหรียญพระนิรันตรายแบบเสมาด้านหน้าเป็นรูปพระนิรันตราย ด้านหลังมีตราประจำวัด (ตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๔) และประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กล่าวได้ว่าพระกริ่งโสฬสรุ่นนี้เป็นสิ่งล้ำค่าหาได้ยาก ผู้ใดมีไว้บูชาจะเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง หลวงปู่โต๊ะท่านได้กล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า พระกริ่งรุ่นนี้ดีมากใช้แทนพระกริ่งวัดสุทัศน์ได้เลย ที่สำคัญคือ หลวงปู่โต๊ะไม่เคยนั่งปรกที่ใดนานเท่าที่วัดราชประดิษฐ์ฯ นี้เลย ด้วยการภาวนารวดเดียวถึง 4 ชั่วโมงเศษ นับเป็นพิธีฉลองที่ใหญ่มากอีกวาระหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับในหลวงของเรา |
ราคาวัตถุมงคล : |
บาท |
สถานะ : |
|
ขั้นตอนการชำระเงิน | ||||||||||||||||||
หลังจากทำการสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว ( เสร็จสมบูรณ์ ) ท่านสามารถเลือกธนาคารใดก็ได้ดังต่อไปนี้ เพื่อทำการโอนเงิน
|